วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

นวัตกรรม กระดานจับคู่ภาพกับเงา

 

กระดานจับคู่ภาพกับเงาผลไม้


 
ชื่อนวัตกรรม  กระดานจับคู่ภาพกับเงาผลไม้
ชื่อผู้สร้าง  
นางสาวศิริกุล   อุ่นสมัย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังชะโอน
66 หมู่ 10 ตำบลวังชะโอน  อำเภอบึงสามัคคี  จังหวัดกำแพงเพชร 62210
รูปแบบ
เป็นสื่อการสอนนักเรียนตั้งแต่ 2 – 5 ปี ซึ่งเป็นสื่อขนาดใหญ่สีสันสวยงามผลิตจากฟิวเจอร์บอร์ดทำให้มีความคงทนถาวรและทำให้เด็กๆสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้เป็นอย่างมาก
 
 
 
แนวคิดหลักทฤษฎีที่ใช้
1. การจัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตร  ทฤษฎีของเพียเจต์ สามารถนำมาใช้ในการ
จัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัยได้โดยตรง โดยหลักสูตรสำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensory - Motor) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  กิจกรรมที่ควรจัดให้กับเด็กปฐมวัยควรเน้นให้เด็ก
ได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด กิจกรรมที่สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
3. การเลือกวัสดุอุปกรณ์ในทัศนะของเพียเจต์ การที่เด็กได้มีโอกาสสัมผัส ต้องจับต้อง
สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ดิน ทราย น้ำ หิน ฯลฯ เป็นสื่อเบื้องต้นที่จะช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสรับรู้ และการเคลื่อนไหว เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงของวัตถุ เช่น เรื่องน้ำหนัก เนื้อสาร ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงกับโครงสร้างอื่น ๆ ดังนั้นสื่อที่ใช้ประกอบการเรียนในวัยนี้จึงควรให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) ทั้งนี้เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด
 
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฝึกประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
2. เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เรื่องชนิดของผลไม้
3. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องสีต่างๆ
4. เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง
5. เพื่อฝึกการเล่นร่วมกันทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กัน
6. เพื่อฝึกทักษะและกระบวนการคิด
7. เพื่อฝึกทักษะการนับจำนวน
 
ลำดับขั้นตอนกิจกรรมการพัฒนา
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
เป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ  มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ โดยใช้วิธีการและสื่อที่หลากหลายประกอบการใช้คำถาม  กระตุ้นซักถาม  ทบทวนหรือแสดงความคิดเห็นให้  ผู้เรียนนำประสบการณ์เดิมมาเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่
ขั้นสอน
ลักษณะกิจกรรมมุ่งให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด  ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน  ร่วมแสดงออกด้วยการตั้งคำถาม  ตอบคำถาม  โดยออกแบบ  กรอบของความคิด  ด้วยการใช้คำถามผลไม้ชนิดใดมีรสเปรี้ยว ผลไม้มีสีอะไรบ้าง  ผลไม้ชนิดใดมีเมล็ด  ผลไม้ชนิดใดรับประทานเปลือกได้  จากนั้นให้นำภาพผลไม้ที่เป็นคำตอบไปติดที่เงาให้สมบูรณ์ถูกต้อง จนกระทั่งได้คำตอบหรือองค์ความรู้ในเรื่องที่เรียนอย่างชัดเจน ในขั้นตอนนี้จึงจำเป็นต้องมีการร่วมกันวิเคราะห์  เพื่อให้ได้ความจริง  ข้อเท็จจริง  หรือคำตอบที่ต้องการ
 


ขั้นสรุป
เป็นการสรุปผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม  โดยร่วมกันสรุปความรู้  ภาพรวมของเรื่องที่เรียนหรือสรุปสาระสำคัญของบทเรียน  โดยนำความรู้ที่ได้มาทั้งหมดมานำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันสรุปข้อค้นพบ  หรือสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่
 
ผลการดำเนินงาน
1. นักเรียนได้ฝึกประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
2. นักเรียนเกิดการเรียนรู้เรื่องชนิดของผลไม้
3. นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องสีต่างๆ
4. นักเรียนมีกล้ามเนื้อมัดเล็กที่แข็งแรง
5. นักเรียนเล่นร่วมกันทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กัน
6. นักเรียนเกิดทักษะและกระบวนการคิด
7. นักเรียนเกิดทักษะการนับจำนวน

 


 
 
 
 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น